วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

นิทาน เรื่องลูกนก 3 ตัว

ในป่าแห่งหนึ่งมีลูกนก 4 ตัว อาศัยกันอยู่ในป่า

ลูกนก ทั้ง4 ตัว เป็นเพื่อนที่รักกันมากแต่นกทั้ง 4 ตัวเป็นนกที่ขี้เกียจมาก

"เช้าวันหนึ่ง ลูกนกที่ 4 ตัว ได้ออกไปหาอาหารกัน แต่ว่านกทั้ง 4 ตัว แยกย้ายกันไปหาอาหาร"

ลูกนก ตัวที่ 1 คิดว่า เดี๋ยวเพื่อนเราก็หาอาหารมาเองแหละก็เลยแอบไปนอนหลับ

ส่วนลูกนกตัวที่ 2 ก็คิดเหมือนตัวที่ 1 คิดเลย ก็เลยหนีไปเล่นกับเพื่อน

ส่วนลูกนกตัวที่ 3 ก็คิดเหมือน ตัวที่ 1 และตัวที่ 2 เลย ก็เลยหนีไปเล่นน้ำ

พอกับมาที่รัง ลูกนกทั้ง 3 ตัว ก็ไม่มีอาหารกินกันเลย

วันนั้นลูกทั้ง 3 ก็ต้องอดอาหารเพราะลูกนกทั้ง 3 ตัวนั้น เป็นลูกนกที่ขี้เกียจ

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ขอบข่ายกิจกรรมแอปเปิ้ล

ขอบข่ายกิจกรรมแอปเปิ้ล

1. การนับ(counting)
- ให้เด็กนับจำนวนแอปเปิ้ล
- ให้เด็กนับราคาของแอปเปิ้ล

2. ตัวเลข(Numeration)
- ให้เด็กหยิบตัวเลขที่จะซื้อแอปเปิ้ล

3. จับคู่(Matching)
- ให้เด็กจับคู่สีของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่ขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่จำนวนของแอปเปิ้ล

4. การจัดประเภท(Classification)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลที่มีสีเดียวกัน
- ให้เด็กแยกขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กแยกจำนวนของแอปเปิ้ล

5. การเปรียบเทียบ(Comparing)
- ให้เด็กเปรียบเทียบแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็ก
- ใหญ่

6. การจัดลำดับ(Ordering)
- ให้เด็กเรียงลำดับรูปภาพขนาดของแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็กที่สุด ไปหาแอปเปิ้ลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

7. รูปทรงและเนื้อที่(Shape and Space)

8. การวัด(Measurement)
- ให้เด็กชั่งน้ำหนักแอปเปิ้ล โดยใช้สองมือเด็กในการประมาณค่าน้ำหนัก ของแอปปเปิ้ลแต่ละลูก
9. เซท(Set)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลสีแดงกับสีเขียว

10. เศษส่วน(Fraction)
- ให้เด็กแบ่งแอปเปิ้ล 1 ลูกเป็น 4 ชิ้นเท่าๆกัน

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามขนาดที่ครูกำหนด
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามสีที่ครูกำหนด

12. การอนุรักษ์(Conservation)
- ครูถามเด็กว่า แอปเปิ้ล 1 ลูก ที่นำมาบดละเอียด กับแอปเปิ้ล 1 ลูก ที่ไม่ได้บด มีปริมาณเท่ากันหรือไม่อย่างไร

ส่งแผนการสอน

แผนการสอน

หน่วยแอปเปี้ล

(วันที่1)

กิจกรรม รู้เรื่องแอปเปิ้ลกันเถอะ

ผู้สอน นางสาวสายใจ อาชีวะ

จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กบอกชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ลได้

สาระสำคัญ
เด็กได้เปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ล

เนื้อหา
การเรียนรู้เรื่องชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ล

กิจกรรม

ขั้นนำ
1. ครูนำปริศนาคำทายมาทายเด็กๆ ดังนี้
- อะไรเอ่ย ผลไม้อะไรที่สโนไวท์ชอบทาน?

ขั้นสอน
2. ครูนำแอปเปิ้ลใส่ตระกร้า แล้วให้เด็กๆทายว่า อะไรอยู่ในตระกร้า
3. ครูเปิดผ้าคลุมออก แล้วให้เด็กนับแอปเปิ้ลในตะกร้า
4. ครูให้เด็กแยกสีแอปเปิ้ลและเปรียบเทียบจำนวนแอปเปิ้ล
5. ครูให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของแอปเปิ้ล
6. ครูให้เด็กเรียงลำดับขนาดของแอปเปิ้ล

ขั้นสรุป
ครูและเด็กสนทนาและเปรียบเทียบลักษณะของแอปเปิ้ลสื่อแอปเปิ้ล

การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการร่วมกิจกรรม
(วันที่ 2 )ชื่อกิจกรรม ส่วนประกอบของแอปเปิ้ล

ผู้สอน นางสาวกนกวรรณ ไข่ติยากุล

จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของแอปเปิ้ล

สาระสำคัญ
เด็กรู้ส่วนประกอบต่างๆของแอปเปิ้ล

เนื้อหา
การเรียนรู้ส่วนต่างๆของแอปเปิ้ล เปลือก เนี้อ เมล็ด

กิจกรรม

ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงและทำท่าประกอบเพลง แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม

ขั้นสอน
2. ครูใช้คำถามถามเด็กดังนี้
- เด็กๆค่ะแอปเปิ้ลที่ครูนำมามีกี่สีค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีสีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลทั้งสองสีเหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ
- เด็กๆคิดว่าแอปเปิ้ลมีรสชาติอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆจะให้ครูผ่าแอปเปิ้ลกี่ครั้งค่ะ
- เด็กๆจะแบ่งแอปเปิ้ลเป็นกี่ชิ้นดีค่ะ
3. ครูให้เด็กทานแอปเปิ้ลโดยที่ครูแบ่งให้เด็ก

ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับส่วนประกอบและรสชาติของแอปเปิ้ล

สื่อ
1. เครื่องเคาะจังหวะ
2. แอปเปิ้ล
3. เคียง
4. มีด
5. จาน
6. ช้อน ส้อม

การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น
(วันที่ 3)

กิจกรรม แอปเปิ้ลมาจากไหน

ผู้สอน นางสาวสุวารี หอมรองบน

จุดประสงค์
1. ร่วมสนทนาและตอบคำถามกับครูได้
2. รู้จักที่มาของแอปเปิ้ลได้
3. รู้จัก จำนวนบวก ลบเลขอย่างง่ายได้

สาระสำคัญ
เด็กรู้ที่มาของแอปเปิ้ล

เนื้อหา
การเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ แอปเปิ้ลมีการแพร่พันธุ์โดยต้องอาศัยสิ่งต่างๆ พาไป ได้แก่ มนุษย์ ใช้วิธีการตอนกิ่ง เมล็ด จากตรงกลางของแอปเปิ้ลมีเมล็ดเอามาปลูก แมลง จากดอกแอปเปิ้ลต้องอาศัยผึ้งและแมลงในการช่วยผสมเกสรต้นแอปเปิ้ลเป็นพืชล้มลุก ต้นแอปเปิ้ลจะออกผลใน 3 – 4 ปี ต้นสูง 5 – 12 เมตร

กิจกรรม

ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”ขั้นสอน
2. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับที่มาของแอปเปิ้ล โดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆเคยเห็นแอปเปิ้ลที่ไหนบ้างค่ะ
- ถ้าเด็กๆไปตลาดเด็กๆอยากได้แอปเปิ้ลเด็กๆจะทำอย่างไรค่ะ
- ถ้าเด็กมีเงิน 3 บาท แอปเปิ้ลลูกละ 5 บาท เด็กๆจะต้องเพิ่มเงินเท่าไรค่ะ
3. ครูนำภาพแอปเปิ้ลมาอธิบายให้เด็กฟัง

ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กร่วมกันสรุปการเจริญเติบโตของแอปเปิ้ลและร่วมกันท่องคำคล้องจอง
5. ครูแลเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ของแอปเปิ้ล

สื่อ
1. คำคล้องจ้อง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”
2. รูปภาพแอปเปิ้ล
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น

คำคล้องจอง
แม่ค้าแอปเปิ้ลแม่ค้า
แม่ค้า แอปเปิ้ล ซื้อ หนึ่ง สอง สาม
ราคาเท่าไร ขอซื้ออีกที
สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
แอปเปิ้ลกลิ้งตก รีบเก็บไว ไว
(วันที่ 4)
กิจกรรม น้ำแอปเปิ้ลปั่น
ผู้สอน นางสาวเพลินพิศ มั่งมูล
จุดประสงค์
1. ร่วมทำกิจกรรมกับครูและเพื่อน ๆ ได้
2. ร่วมสนทนากับครูและผู้อื่นได้
3. บอกรสชาติของน้ำแอปเปิ้ลปั่นได้
สาระสำคัญ
แอปเปิ้ลคือผลไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานได้แอปเปิ้ลนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น เครื่องดื่ม และขนมเนื้อหาเด็กได้เรียนรู้การทำน้ำผลไม้ปั่นจากลูกแอปเปิ้ล
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองแอปเปิ้ลขั้นสอน
2. นำแอปเปิ้ลของจริงสนทนากับเด็ก
3. นำแอปเปิ้ลสีเขียวกับแอปเปิ้ล สีแดงมาสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กจะเลือกแอปเปิ้ลสีอะไรทำน้ำปั่นดีค่ะ
- ทำไมเอาสีนี้ค่ะ
- ให้ครูใส่แอปเปิ้ลกี่ชิ้นดีค่ะ
- น้ำเชื่อมกี่ช้อนดีค่ะ
- น้ำแข็งกี่แก้วดีค่ะ
- เกลือเท่าไรดีค่ะ
- จะกดเครื่องปั่นกี่ครั้งค่ะ
ขั้นสรุป
4. เด็กสามารถบอกปริมาณของส่วนประสมได้
5. เด็กสามารถบอกรสชาติของน้ำแอเปิ้ลได้
6. ครูและเด็กร่วมกันตั้งชื่อน้ำปั่น
สื่อ
1. เครื่องปั่นผลไม้
2. แอปเปิ้ล
3. มีด
4. เขียง
5. น้ำแข็ง
6. แก้วน้ำ
7. หลอด
8. น้ำหวาน
การประเมินผล
1. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
2. สังเกตการณ์ตอบคำถาม
3. สังเกตการแสดงความคิดเห็น

เพลง ตัวเลข

1 2 ฉันไม่รู้จัก
3 4 ฉันรู้จักดี
5 6 นั้นคืออะไร
ลองนับดูสิ 1 2 3 4 5 6 อุ๋ยเก่งจังเลย

เพลง ตบมือ

1 2 ตบมือเปาะแปะ
3 4 ก็วิ่งอยู่กับที่
5 6 แล้วกระโดดตบมือ

บทความคณิตสาสตร์

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ จะเริ่มต้นในเด็กมาเป็นเวลานานก่อนที่เด็กจะเข้าโรงเรียน เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากการรู้จักตัดสินใจ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นในการให้เหตุผลโดยการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่นเลือกของเล่นการนับของเล่นการเลือกเครื่องแต่งกายการแบ่งขนมให้น้องเท่าไรการตัดสินใจว่าจะวางของเล่นไว้ครงไหน เมื่อเด็กหัดขี่จักรยานเขาจะต้องรู้จักประมาณพื้นที่จากการซื้อขนมขณะที่เด็กไปเที่ยวกับพ่อแม่ เด็กได้เรียนรู้การใช้เงิน เด็กชอบท่องจำชณะที่เขานับ 1-2-3เด็กจะเรียนรู้การนับโดยไม่รู้ตัวเลข 1-2-3ที่เด็กนับจะไม่มีความหมายสำหรับเด็กจนเมื่อเขานำตัวเลขไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆเช่นการซื้อขนม ซื้อของเป็นต้น

สัปดาห์ที่ 9 ในการเรียน

วันนี้อาจารย์ได้บอกวิธีการสอนในวันที่ 1 สอนในหน่วยเสริมประสบการณ์ จะสอนเด็กในแต่ละหน่วยของแต่ละกลุ่ม การสอนของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เด็กได้สาระอะไรจากการสอนบ้าง การสอนแบบใช้คำถามปลายเปิด ในการสอนควรมี การเตรียมความพร้อม วางแบบแผน เตรียมอุปกรณ์ในการสอน และอาจารย์ให้นักศึกษามาเรียนใน วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552 มาเรียนเทคนิคการทำนิทาน ให้มีเสียง และมีรูปภาพประกอบ

ส่งงาน ที่สังเกตการ เด็ก ที่เกษมพิษทยา 2 สัปดาห์

ทุกวัน ที่โรงเรียนเกษมพิทยาจะมีกิจกรรมที่บูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ออกกำลังกายตอนเช้าทุกวันเพลง นับเลข
นับหนึ่ง เป็นกบกระโดด
นับสอง ว่ายน้ำเหมือนปลา
นับสาม วิ่งควบเหมือนม้า
นับสี่ บินเหมือนผีเสื้อ(ร้องซ้ำ 3 รอบ)นับสี่....... นับสาม....... นับสอง....... นับหนึ่ง.......
เพลง เลขาคณิต
ตบมือ ตบมือ ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
ตบมือ ตบมือ เดินเป็นรูปสี่เหลื่ยม
เดินหน้า ถอยหลัง ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
เดินหน้า ถอยหลัง เดินเป็นรูปวงกลม-----------------------------------------มีการบูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อีกนะมีการจัดเวนเด็กในการใส่วันที่แล้วให้เด็กนับว่ามากี่คนและขาดกี่คน

สัปดาห์ที่ 8 ในการเรียน

วันนี้ได้ส่งเกมแต่อาจารย์ให้เอาไปแก้บ้างส่วนแล้วให้เพื่อนที่ยังไม่ได้ส่งงาน
อาจารย์ให้ทำส่งอาจารย์ให้เอาหน่วยที่ทำเป็น MindMapส่งลงใหบล็อก
และทำกิจกรรมหน่วยแอปเปิ้ลในขอบข่ายคณิตศาสตร์ส่าค่ะ

สัปดาห์ที่ 7 ในการเรียน

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการคิดเลข นั้นมีความจำเป็น ในการเรียนคณิตศาสตร์
เพื่อให้เด็กได้ฝึกคิดเลข ควรจัดผสมผสานในกระบวนการเรียน
การสอนการคิดเลขจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายดังนี้
1.การคิดเลขจะช่วยให้ให้เด็กแก้ปัญหาต่างๆได้ดี ถ้าคิดเลขเป็นประจำจะช่วยแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
2.การฝึกคิดเลขจะช่วยให้เด็กแสดงวิธีทำได้ง่ายและเร็วขึ้น
3.การคิดเลขจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการประมาณ
4.การคิดเลขจะช่วยให้ใจเรื่องเหล่านี้ดีขึ้นครูควรให้เด็กเข้าใจการคิดเลขจะช่วยให้เด็กมีทักษะ เกิดความชำนาญในการคิดเลขได้ถูกต้อง ถ้าให้เด็กได้รับการฝึกคิดเลขประจำสม่ำเสมอเด็กจะคิดได้ถูกต้อง แม่นยำ

สัปดาห์ที่ 6 ในการเรียน

วันนี้อาจารย์ให้เอาหน่วยแอปเปิ้ลใส่ใน MindMap ส่งทางเมล์ มี ลักษณะสี รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส รสชาติ ประโยชน์ ช่วยในระบบขับถ่ายส่วนประกอบ เปลือก เนื้อ เมล็ดโทษ กินเยอะท้องอึดการเก็บรักษา เก็บให้พ้นแดด เก็บไว้ในที่เย็นเมล์อาจารย์จ๋า แล้วให้ทำเกมส่งสัปดาห์หน้า

สัปดาห์ที่ 5 ในการเรียน

อาจารย์ได้สอนหลักการสอนของคณิตสาสตร์สำหรับครูที่ดีเพื่อที่จะได้เข้าใจพัฒนาการเด็ก
และ ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ พบคำตอบด้วยตัวเอง
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นที่เป็นประโยขน์
8.ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากได้
9.ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนรวมหรือปฏิบัติการจริงเดียวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับ
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14.ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการเตรียมความพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์นั้นจะต้องฝึกให้เด็กได้พัฒนาการทางสายตาก่อนเป็นอันดับแรกถ้าเด็กสามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กจะมีปัญหาด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้หลักการสอนคณิตศาสตร์

สัปดาห์ที่ 4 ในการเรียน

อาจารย์ได้สอนเรื่องของบล็อกค่ะ ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา"สอนเกี่ยวกับการนับเลข ร้องเพลงด้วยนะ ตัวเลขคู่กับจำนวนและปริมาณ การเปรียบเทียบ การจับคู่ คณิตศาสตร์ จำนวน มาก-น้อย-คู่ ขนาด เล็ก-ใหญ่ สูง-เตี่ย ค่าของเงิน บาท สร้างสถานการณ์ให้เด็กได้ใช้เงินกันจริงๆ สอนๆ อยู่ก็ร้องเพลง แต่คำเหล่านี้นำไปแต่งเพลงได้ แต่งนิทานได้ ความเร็ว ช้า-เร็ว เดิน-วิ่ง เป็นการให้จังหวะได้ อุณหภูมิ ร้อน-เย็น-หนาวมาตรฐานการวัดในระบบเมตริก เด็กควรทราบคำศัพท์สามารถใช้ในขีวิตประจำวัน เน้นการบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด ให้เด็กเรียนรู้ภาษา และการใข้คำพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในขีวิตประจำวัน แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และสัญลักษณ์ ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้

สัปดาห์ที่ 3 ในการเรียน

สัปดาห์นี้หนูไม่ได้เข้าเรียนค่ะ แต่ก็รู้ว่าอาจารย์พูดถึงเรื่องทฤษฎี
ของเพีย์เจย์เพราะได้เข้าไปดูบล็อกของเพื่อน

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552